โทรจัน newyork day 1
Mindset
คนตะวันออก มีจุดอ่อนที่ฝรั่งรู้และเข้าใจธรรมชาติของเราว่า เรายกย่อง ชื่นชม เปิดรับ ความเป็นฝรั่งโดยง่าย ฝรั่งจึงใช้จุดนี้ควบคุมเรา โดยให้ความรู้ที่มากมาย เพราะเค้าต้องการควบคุมทรัพยากร เค้าต้องควบคุมความรู้ความเข้าใจ วิธีสังเกตุคือ เค้าจะให้ความรู้ที่ดูมีเหตุผล ใช้ได้(แต่เค้าเองไม่ใช้วิธีนั้นๆในการทำมาหากิน) พร้อมกับให้คำชม ยกย่อง แต่สังเกตุว่าเค้ารู้ว่าความรู้เหล่านั้น ก็ไม่มีทางทำให้เราพัฒนาสู้เค้าได้ เค้าไม่กลัว แต่เมื่อไหร่ที่เค้าเริ่มกลัว เค้าจะใช้วิธีจ้างด้วยค่าแรงสูงๆ หรือเชิญให้ไปเป็นพวกเค้า
ตัวเราเองก็มีจุดอ่อน เรื่องการมีEGO ที่ขัดขวางการเรียนรู้ และการพัฒนาตนเอง เมื่อมีความรู้ ความเข้าใจที่ขัด หรือไม่เหมือน ในสิ่งที่เราคิด(ขัดEGOของเรา) เราจะ ต่อต้าน ปฎิเสธ ปิดใจ ในเรื่องนั้นๆ แย่กว่านั้นคือเราคิดว่าเราเก่งที่สุด หรือถูกต้องที่สุด
ทางแก้คือ เราต้องเข้าใจตัวเอง ยอมรับว่าทุกอย่าง ทุกระบบ มีจุดอ่อน เช่น close system ก็ยังมีจุดอ่อน เพราะยังต้องขึ้นกับโบรคเกอร์ ถ้าโบรคเกอร์ ไม่มั่นคง ถาวร เราก็อาจเสียหายได้
ตัวเราเองก็มีจุดอ่อน เราต้องยอมรับตรงๆ เพื่อเรียนรู้ และพัฒนา
Cr. พี่ต้าน https://youtu.be/Wt5yctguQ08
jeudi 29 décembre 2016
mercredi 21 décembre 2016
การเรียนรู้อะไรก็ได้ด้วย FEYNMAN TECHNIQUE CR.Richard FREYNMAN
ในโลกของข้อมูลข่าวสารที่มีมากกว่า เวลาในชีวิตที่เราจะสามารถเรียนรู้ได้หมด ถ้ามีวิธีการเรียนรู้ที่เรียบง่าย แต่มีประสิทธิภาพ น่าจะดีนะ แต่ ยังไงละ!
วิธีการเรียนรู้แบบหนึ่ง ของริชาร์ด ไฟน์แมน ผู้ได้รับรางวัลโนเบิลสาขาฟิสิกส์ ได้ใช้และนำมาถ่ายทอด
ริชาร์ดเชื่อว่า "การรู้จักสิ่งนั้น" กับ"การรู้จักชื่อสิ่งนั้น " ไม่เหมือนกัน
ยกตัวอย่างเช่น คนญี่ปุ่นรู้จัก ซูชิ เพราะเป็นอาหารประจำชาติของเค้า เค้ารู้ว่า ซูชิทำจากข้าวชนิดไหน หุงยังไงผสมนำ้ส้มสายชูกับอะไร... รสชาติ เปรี้ยว หวาน เนื้อปลาที่สด กลิ่น และรส ชาติ หวานอร่อย ...
ผิดกับคนต่างประเทศที่ไม่เคยกินซูชิ แต่รู้จักชื่อ เพราะเคย ได้ยิน ได้เห็น ในหนังสือ หรือในโทรทัศน์ ก็จะได้แค่รู้จักชื่อ แต่ยังไม่รู้จัก
เทคนิค ของไฟน์แมน เริ่มจาก "Choose a concept"หาเรื่องที่จะเรียนรู้ แล้วเขียนชื่อเรื่องไว้บนหัวกระดาษ
ขั้นที่สอง "Teach it"สอนในเรื่องที่เราเขียนชื่อบนหัวกระดาษ เขียนทุกอย่างที่เราได้เรียนรู้มา ด้วยคำศัพย์ที่ง่ายๆ ที่เด็กๆที่เริ่มอ่านได้ สามารถเข้าใจในสิ่งที่เราเขียน
ขั้นที่สาม "Go back" กลับไปดูสิ่งที่เขียนในขั้นตอนที่สอง เราจะพบว่าบางช่วงมีช่องว่าง บางช่วงยังสื่อความหมายไม่ชัดเจน บางช่วงเราเองที่ยังไม่แน่ใจ เมื่อเจอสิ่งเหล่านี้ให้กลับไปหาความรู้ความเข้าใจ และเขียนออกมาด้วยภาษาที่ง่ายจนเด็กๆสามารถเข้าใจได้ เอาเฉพาะ ช่วงที่เป็นช่องว่างของความรู้ ก็พอ ไม่ต้องกลับไปเริ่มใหม่
ขั้นสุดท้าย "Review & simplify"เอากระดาษทุกแผ่นที่เขียน มาเขียนใหม่ด้วยถ้อยคำที่ง่ายๆ พยายามไม่ใช้คำยากที่ยืมมาจากต้นฉบับ เพราะการใช้คำยาก มาอธิบาย บางทีเป็นการหลบเลี่ยงในสิ่งที่เราเองยังไม่เข้าใจ ฉะนั้น เป็นการบังคับตัวเองให้ทำความเข้าใจจนสามารถถ่ายทอดด้วยความง่ายๆ ไม่มีส่วนที่ซับซ้อน เด็กสามารถอ่านแล้วเข้าใจ
สุดท้ายถ้าทำได้ เราเองจะเป็นคนที่ได้ความเข้าใจนั้น Bravo!!!
Cr. The Matter
วิธีการเรียนรู้แบบหนึ่ง ของริชาร์ด ไฟน์แมน ผู้ได้รับรางวัลโนเบิลสาขาฟิสิกส์ ได้ใช้และนำมาถ่ายทอด
ริชาร์ดเชื่อว่า "การรู้จักสิ่งนั้น" กับ"การรู้จักชื่อสิ่งนั้น " ไม่เหมือนกัน
ยกตัวอย่างเช่น คนญี่ปุ่นรู้จัก ซูชิ เพราะเป็นอาหารประจำชาติของเค้า เค้ารู้ว่า ซูชิทำจากข้าวชนิดไหน หุงยังไงผสมนำ้ส้มสายชูกับอะไร... รสชาติ เปรี้ยว หวาน เนื้อปลาที่สด กลิ่น และรส ชาติ หวานอร่อย ...
ผิดกับคนต่างประเทศที่ไม่เคยกินซูชิ แต่รู้จักชื่อ เพราะเคย ได้ยิน ได้เห็น ในหนังสือ หรือในโทรทัศน์ ก็จะได้แค่รู้จักชื่อ แต่ยังไม่รู้จัก
เทคนิค ของไฟน์แมน เริ่มจาก "Choose a concept"หาเรื่องที่จะเรียนรู้ แล้วเขียนชื่อเรื่องไว้บนหัวกระดาษ
ขั้นที่สอง "Teach it"สอนในเรื่องที่เราเขียนชื่อบนหัวกระดาษ เขียนทุกอย่างที่เราได้เรียนรู้มา ด้วยคำศัพย์ที่ง่ายๆ ที่เด็กๆที่เริ่มอ่านได้ สามารถเข้าใจในสิ่งที่เราเขียน
ขั้นที่สาม "Go back" กลับไปดูสิ่งที่เขียนในขั้นตอนที่สอง เราจะพบว่าบางช่วงมีช่องว่าง บางช่วงยังสื่อความหมายไม่ชัดเจน บางช่วงเราเองที่ยังไม่แน่ใจ เมื่อเจอสิ่งเหล่านี้ให้กลับไปหาความรู้ความเข้าใจ และเขียนออกมาด้วยภาษาที่ง่ายจนเด็กๆสามารถเข้าใจได้ เอาเฉพาะ ช่วงที่เป็นช่องว่างของความรู้ ก็พอ ไม่ต้องกลับไปเริ่มใหม่
ขั้นสุดท้าย "Review & simplify"เอากระดาษทุกแผ่นที่เขียน มาเขียนใหม่ด้วยถ้อยคำที่ง่ายๆ พยายามไม่ใช้คำยากที่ยืมมาจากต้นฉบับ เพราะการใช้คำยาก มาอธิบาย บางทีเป็นการหลบเลี่ยงในสิ่งที่เราเองยังไม่เข้าใจ ฉะนั้น เป็นการบังคับตัวเองให้ทำความเข้าใจจนสามารถถ่ายทอดด้วยความง่ายๆ ไม่มีส่วนที่ซับซ้อน เด็กสามารถอ่านแล้วเข้าใจ
สุดท้ายถ้าทำได้ เราเองจะเป็นคนที่ได้ความเข้าใจนั้น Bravo!!!
Cr. The Matter
Inscription à :
Articles (Atom)