ในโลกของข้อมูลข่าวสารที่มีมากกว่า เวลาในชีวิตที่เราจะสามารถเรียนรู้ได้หมด ถ้ามีวิธีการเรียนรู้ที่เรียบง่าย แต่มีประสิทธิภาพ น่าจะดีนะ แต่ ยังไงละ!
วิธีการเรียนรู้แบบหนึ่ง ของริชาร์ด ไฟน์แมน ผู้ได้รับรางวัลโนเบิลสาขาฟิสิกส์ ได้ใช้และนำมาถ่ายทอด
ริชาร์ดเชื่อว่า "การรู้จักสิ่งนั้น" กับ"การรู้จักชื่อสิ่งนั้น " ไม่เหมือนกัน
ยกตัวอย่างเช่น คนญี่ปุ่นรู้จัก ซูชิ เพราะเป็นอาหารประจำชาติของเค้า เค้ารู้ว่า ซูชิทำจากข้าวชนิดไหน หุงยังไงผสมนำ้ส้มสายชูกับอะไร... รสชาติ เปรี้ยว หวาน เนื้อปลาที่สด กลิ่น และรส ชาติ หวานอร่อย ...
ผิดกับคนต่างประเทศที่ไม่เคยกินซูชิ แต่รู้จักชื่อ เพราะเคย ได้ยิน ได้เห็น ในหนังสือ หรือในโทรทัศน์ ก็จะได้แค่รู้จักชื่อ แต่ยังไม่รู้จัก
เทคนิค ของไฟน์แมน เริ่มจาก "Choose a concept"หาเรื่องที่จะเรียนรู้ แล้วเขียนชื่อเรื่องไว้บนหัวกระดาษ
ขั้นที่สอง "Teach it"สอนในเรื่องที่เราเขียนชื่อบนหัวกระดาษ เขียนทุกอย่างที่เราได้เรียนรู้มา ด้วยคำศัพย์ที่ง่ายๆ ที่เด็กๆที่เริ่มอ่านได้ สามารถเข้าใจในสิ่งที่เราเขียน
ขั้นที่สาม "Go back" กลับไปดูสิ่งที่เขียนในขั้นตอนที่สอง เราจะพบว่าบางช่วงมีช่องว่าง บางช่วงยังสื่อความหมายไม่ชัดเจน บางช่วงเราเองที่ยังไม่แน่ใจ เมื่อเจอสิ่งเหล่านี้ให้กลับไปหาความรู้ความเข้าใจ และเขียนออกมาด้วยภาษาที่ง่ายจนเด็กๆสามารถเข้าใจได้ เอาเฉพาะ ช่วงที่เป็นช่องว่างของความรู้ ก็พอ ไม่ต้องกลับไปเริ่มใหม่
ขั้นสุดท้าย "Review & simplify"เอากระดาษทุกแผ่นที่เขียน มาเขียนใหม่ด้วยถ้อยคำที่ง่ายๆ พยายามไม่ใช้คำยากที่ยืมมาจากต้นฉบับ เพราะการใช้คำยาก มาอธิบาย บางทีเป็นการหลบเลี่ยงในสิ่งที่เราเองยังไม่เข้าใจ ฉะนั้น เป็นการบังคับตัวเองให้ทำความเข้าใจจนสามารถถ่ายทอดด้วยความง่ายๆ ไม่มีส่วนที่ซับซ้อน เด็กสามารถอ่านแล้วเข้าใจ
สุดท้ายถ้าทำได้ เราเองจะเป็นคนที่ได้ความเข้าใจนั้น Bravo!!!
Cr. The Matter
Bravo!!!
RépondreSupprimer