lundi 2 janvier 2017

โทรจัน นิวยอร์ค เทรดเดอร์ day3 cr.พี่ต้าน mudley group


Zero alpha
 การที่เราจะมีแนวคิดแบบนี้เราต้องไม่ยึดติดกับ การใช้systemอะไร, มีreturn(ผลตอบแทน)เท่าไหร่ , มีperformance (สมรรถนะหรือความสามารถ)มากหรือน้อย, หรือใช้Benchmarkอะไร(การใช้เกณฑ์มาตราฐานอะไรเพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน)
          เราไม่ควรมาให้ใครกำหนดBenchmarkให้เรา เพราะอาจจะไม่เหมาะกับเรา เช่น เราทำแนวทางของ close system แต่ เราใช้เกณฑ์มาตราฐาน แบบReturn(ผลตอบแทน)เราก็ไม่สามารถทำ true alphaได้หรือทำได้แต่ยากมากๆ , หรือเราทำในแนวทางของ Return(ผลตอบแทน)แต่เราใช้เกณฑ์มาตราฐานของclose systemซึ่งวัดความสามารถในการอยู่รอดในตลาด ซึ่งจะไม่คำนึงถึงการที่ได้ผลตอบแทนที่สูง ทางที่ดีเราควรมีเกณฑ์มาตราของระบบของเราเอง
         Alpha มาจากสิ่งที่มีคุณสมบัติเหนือเกณฑ์มาตราฐานของสิ่งนั้นๆ เช่น alpha manคือคนที่มีความสามารถ หรือคุณสมบัติเหนือคนธรรมดาทั่วไป
แนวคิดการทำalpha ในการเทรดคือ การทำให้ return เหนือ benchmark เช่น alpha ของนักลงทุน คือ การทำผลตอบแทนให้มากกว่าทุน แต่ถ้าในระยะยาว เราพยายามทำperformanceบน alpha base เราจะ ขึ้นอยู่กับperformaceมากเกินไป จึงมีนักคณิตศาสตร์เสนอแนวคิด Zero alpha แนวคิดนี้ คิดว่าเราจะได้เปรียบในตลาด ที่ถูกผลักดันด้วยความคาดหวังได้อย่างไร
          Zero alpha คือแนวคิด ทำโมเดลเทรดที่จุด ไม่มีผลตอบแทน แต่เราไม่ขาดทุน เป็นความคิดที่อยู่ในมุมมองที่ต่างจากความคาดหวัง ทำให้ที่จุด Zero alpha มีคนใช้จุดนี้มาทำstrategy(กลยุทย์)ของโมเดลเทรดน้อยมาก เพราะขัดกับความต้องการของการเทรด(คือการเทรดให้มีผลตอบแทน เป็นการไม่มีผลตอบแทน) แต่ในทางปฎิบัติถ้าโมเดลสามารถดำเนินไปได้ โดยวางกลยุทย์ในจุดที่ไม่ได้ผลตอบแทนแต่ไม่ขาดทุน เราจะได้รับผลอะไรบางอย่าง
           เราต้องพัฒนา แนวคิด บนพื้นฐานที่ใช้ได้จริง เพราะจะเป็นแนวคิดที่นำไปสู่ความรู้ที่ควรจะรู้ แต่ถ้า เป็นแนวคิดที่ใช้ได้ไม่จริง เราจะมีแนวโน้มไปหาเหตุผลมาสนับสนุน แนวคิดที่ใช้ได้ไม่จริง
เครดิต พี่ต้าน Mudley group https://youtu.be/WpqrCmxwkIA


Aucun commentaire:

Enregistrer un commentaire